น้องเนติวิทย์นี่ช่าง....

น้องเนติวิทย์, นักเรียนชั้นม.5 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ผู้เป็นแกนนำคนสำคัญจากเลขาธิการสมาพันธ์นักเรียนไทย
ที่เคยออกมาเรียกร้องเรื่องผมติ่ง-ผมเกรียนจนได้เรื่อง
ขอบอกตามตรงว่าไม่เคยใส่ใจอะไรกับน้องเค้ามากนัก
แต่หลังจากเห็นข่าว กระทาชายนายคนเดิมออกมาจวกศาสนาพุทธในโรงเรียน
เราก็เกิดสนใจขึ้นมา เพราะติดใจบางคำพูด
ถึงขั้นตามไปอ่านบทสัมภาษณ์ใน http://waymagazine.org/
บอกตามตรงว่าชอบประเด็นเรื่องเสรีภาพที่น้องกล่าวถึง 
เห็นดี เห็นงามด้วยเป็นที่สุด มนุษย์มีเสรีโดยชอบธรรมติดตัวมาตั้งแต่เกิดและควรได้ใช้มันในทางที่ถูก
และชอบด้วยซ้ำกับประเด็นที่เรียกร้องให้การศึกษาไทยเน้นการให้เด็กกล้าที่จะคิดต่างและรู้จักตั้งคำถามมากขึ้น
แต่ขัดใจกับการออกมาโต้แย้งเรื่องศาสนาพุทธกับเรื่องการอ่อนน้อมถ่อมตนในวิถีของชาวไทยเอามากๆ 

คำพูดของ น้องเนติวิทย์ ชึ้ให้เห็นได้ว่ามีประเพณีอันดีงามของเรากำลังเสื่่อมถอย
มีเยาวชนรุ่นหลังๆ ไม่เข้าใจวัฒนธรรมไทย
ไม่เข้าใจจุดประสงค์ของการที่ผู้ใหญ่สอนให้เรามีสัมมาคาราวะ
ที่สอนให้ทำ บอกให้ไหว้ บอกให้พูดเพราะๆ มีหางเสียงกับผู้ใหญ่
นั่นไม่ใช่การบังคับให้ศิโรราบแบบไร้เหตุผล
หรือต้องการวางอำนาจแบบยากูซ่า สาด!ไหว้กูดิ ไม่ไหว้เดี๋ยวตบฟว่ำ
แต่เป็นการขัดเกลาให้เราละมุนละไม อ่อนโยนและอ่อนน้อมมากขึ้นต่างหาก
ถ้าเราเป็นคนรู้จักวางตัว ไม่ก้าวร้าว คนรอบๆ ตัวก็จะรู้สึกดีมากกว่าจริงมั้ยล่ะ?
ดูอย่างประเทศที่เจริญมากๆ อย่างญี่ปุ่น ยังมีมารยาททางสังคมที่เข้มงวดมากเลย
แล้วทำไมเราถือจะทิ้งมารยาทดีๆ ที่เคยมีไปซะล่ะ มันน่าเสียดายเกินไปหรือเปล่า?

อีกจุดที่ทำเอาเราถอนหายใจเฮือกๆ
คือมุมมองทางศาสนาของน้องเนติวิทย์
ใครยังไม่เห็นรู้ เคยฟังความน้องมีความคิดเยี่ยงไร
ขอแปะไว้เป็นวิทยาทาน มาจากเว็บ http://waymagazine.org/ ค่ะ

สังเกตว่าคนรุ่นใหม่มักแสดงข้อคิดเห็นเชิงวิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่เรียกว่าธรรมะ สิ่งที่เรียกว่าศีลธรรม หรือแม้กระทั่งความดี…เกิดอะไรขึ้น สิ่งเหล่านี้ไม่มีสัจจะอยู่ในตัวเลยใช่ไหม

"ธรรมะ ผมมองว่าเป็นสิ่งไม่ตายตัว ธรรมะนั้นเป็นธรรมะของอะไร เป็นธรรมะของชนชั้นปกครองหรือเป็นธรรมะของผู้ถูกกดขี่ ถ้าเป็นธรรมะของชนชั้นปกครอง…ไปดูได้เลย ประเทศไทย ราษฎรไม่มีสิทธิ์อะไรเลยที่จะกำหนดธรรมะของตัวเอง ว่าธรรมะคืออะไร เรื่องการทำแท้งก็ไม่มีสิทธิ์ นักเรียนจะต้องไปเข้าค่ายศีลธรรม ซึ่งโรงเรียนก็มักจะจัดอยู่บ่อยๆ ซึ่งเป็นเรื่องน่าเบื่อ นักเรียนไม่รู้หรือ ว่าตัวเองสามารถเป็นคนดีได้

ในความคิดของผมนะ คนดีคือคนที่มีจุดยืนในทางคุณธรรมเกี่ยวกับเพื่อนมนุษย์ ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ คนดีคือคนที่ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนคนอื่น ไม่กดขี่ข่มเหงคนอื่น นี่คือคนดี แต่ทีนี้ฝ่ายผู้ปกครอง ผู้มีอำนาจ สถาบันโรงเรียนเขากำหนดความดีลงมา ความดีของเขาคืออะไร ความดีคือคุณไม่ทำผิดกฎหมาย คุณต้องทำตามกฎระเบียบโรงเรียน นี่คือความดี ทีนี้คนมันเบื่อคนมันเริ่มตั้งคำถามแล้ว ว่าแบบนี้มันตายซาก มันมีแต่จะฉุดรั้งความก้าวหน้าในสังคมไทย คนก็เริ่มตั้งคำถามกันมาก ผมรู้สึกว่าช่วงนี้เริ่มมากขึ้นนะ เมื่อก่อนไม่รู้นะว่ามีหรือเปล่า เดี๋ยวนี้มีเยอะ

ผมคิดว่าศาสนาพุทธบ้านเรานั้นแคบ คุณต้องทำแบบนี้ ถ้าทำแบบนี้ไม่ใช่พุทธ ต้องทำแบบนี้จึงเป็นพุทธ แม้กระทั่งไสยศาสตร์ คนกราบไหว้ต้นไม้มันก็เป็นพุทธแบบชาวบ้านนะ แล้วคนที่เรียนสูงๆ ก็บอกว่า ไม่ใช่พุทธ พวกเขาดูถูกพุทธชาวบ้าน"


อ่านดูแล้วกลุุ้ม ถ้าเป็นลูกเป็นหลานคงปวดเฮด
ตามมุมมองของเรา น้องเนติวิทย์เป็นเด็กกล้าคิด
ดีที่ลุกขึ้นมาแสดงจุดยืนเป็นเยี่ยงอย่างให้เด็กไทย
แต่น้องกำลังมองธรรมะแบบผิดๆ
มองเห็นแค่ผิว ไม่ใช่แก่นของธรรมะ
แล้วตีความไปโดยไม่รู้จริง


ถ้าให้เจาะกันเป็นจุดๆ ธรรมะไม่ใช่แบบที่น้องพูดมานะ
เริ่มจาก "ธรรมะนั้นเป็นธรรมะของอะไร?"
ธรรมะไม่ใช่ของใครทั้งนั้น ตัด 's ออกไปอย่างเร่งด่วน
ถ้าพูดถึงเฉพาะแง่คำสอนในศาสนาพุทธ
คำว่า "ธรรมะ" มาจาก ธรรมชาติของสรรพสิ่ง ถือเป็น Fact อย่างหนึ่ง
คือ มันเป็นอย่างนั้นของมันเป็นธรรมดาอยู่
ฉะนั้นถ้าจะให้พูดถึงธรรมะแบบมี 's
มันก็คือ ธรรมชาติของ... ex. ธรรมชาติของหมีแพนด้า
สำหรับมนุษย์จึง = ธรรมชาติของมนุษย์ = ธรรมะ's มนุษย์

อย่างที่รู้ๆ กัน เราเรียกคำสอนในศาสนาพุทธว่า 'ธรรมะ'
ซึ่งพระพุทธเจ้า ผู้เป็นองค์ศาสดา กำหนดธรรมะขึ้นมา
เพราะอยากให้เรารู้ทันธรรมชาติของตัวเองและรับมือได้กับทุกสภาวะ
การสวดมนต์ ไหว้พระ ทำบุญ เป็นแค่ส่วนหนึ่งของธรรมะ
เป็นแค่วิธีปฏิบัติเพื่อฝึกตน (ไม่ได้มาถือไม้เรียวบังคับให้ทำกัน)

หลักจริงๆ พระพุทธเจ้าต้องการสอนให้เรามองเห็นถึงสภาพปกติธรรมดาของชีวิต
เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป อันถือเป็นธรรมดา ไม่มีสิ่งไหนหรืออะไรจีรังยั่งยืน
เราจึงไม่ควรยึดติดกับสิ่งใด เพื่อขจัดทุกข์ และสร้างความสุขอย่างแท้จริง
นั่นคือธรรมะฉบับคราวๆ (ย่อสุดขีดตามความเข้าใจของเรา)

คราวนี้มาที่ทำไมสถาบันโรงเรียนต้องกำหนดให้มีธรรมะในโรงเรียน
มีการสวดมนต์ เข้าค่ายพุทธศาสนา (ที่น้องเนติวิทย์มองว่าตายซาก)
ก็เพราะว่าต้องการจะให้เด็กรุ่นใหม่เข้าใจในศาสนาพุทธมากขึ้น
ได้เข้าถึงวิธีฝึกจิตใจให้ตั้งรับกับธรรมชาติของโลกได้

เหมือนมีสิ่งดีๆ ที่คนรุ่นก่อนอยากจะบอกต่อให้คนรุ่นใหม่รู้
เหมือนเรากินข้าวร้านไหนแล้วอร่อย ก็อยากบอกต่อให้เพื่อนรู้
เรื่องนี้ก็ไม่ต่าง.... คนที่เคยใช้วิถีพุทธมาก่อนแล้วเค้าพบกับความสุข
เค้าก็เลยอยากบอกลูกหลานเค้าต่อ มันก็แค่นั้น

และจุดนี้สิ่งที่เด็กๆ ควรทำคือ ลองเปิดใจฟัง เรียนรู้และปฏิบัติดูก่อน
ถ้าคิดว่ามันไม่ใช่ ก็เป็นสิทธิของคุณแล้วที่จะเลือกไปปฏิบัติวิถีอื่น
จะไปนับถือศาสนาอื่น หรือจะไม่มีศาสนากันไปเลยก็ได้ สิทธิของใครของมันอยู่แล้ว
แต่ที่น้องเนติวิทย์ทำ มันเหมือนปัดชามข้าวทิ้งตั้งแต่ยังไม่ได้ลองชิมข้าวในชามด้วยซ้ำ

 "ชาวพุทธ!นี่มันส่งผ่านกรรมพันธุ์กันได้หรือไง?"
คำพูดพวกนี้จึงเป็นอะไรไปไม่ได้มากกว่าคำประชดกวนประสาทของคนต้องการเอาชนะ
แถมสิ่งที่น้องทำลงไป อาจทำให้คนจำนวนหนึ่งมองศาสนาพุทธแบบผิดๆ อีกด้วย

ยิ่งทำหน้าไม่ถูกเมื่อเห็นข้อความชื่นชมน้อง ไม่ว่าจะในเว็บบอร์ดต่างๆ หรือในคอมเม้นท์เฟสบุ๊ค
บางคนเหมือนยังไม่ทันรู้อะไรเลย เห็นผ่านๆ อ่านคราวๆ
ก็เข้ามาชม มาให้กำลังใจว่าอยากให้เด็กไทยเป็นแบบนี้เยอะๆ

ขอบอกว่าเรื่องผมติ่ง ผมเกรียน หรือเปลี่ยนระบบการศึกษาให้ดีขึ้น เราเห็นด้วยกับน้อง
แต่เรื่องศาสนากับประเพณีไทยนี่ดูเกินไปหน่อย
อยากขอให้คิดดีๆ และศึกษาซะก่อนแล้วค่อยพูด

ถ้าเด็กไทยเป็นแบบนี้เยอะๆ อย่างที่หลายคนอวยพรไว้
ยาแก้ปวดคงขายดีในหมู่ผู้ใหญ่ทีเดียว





ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม